วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เทคโนโลยี การปลูกพืชในน้ำ

เทคโนโลยีการปลูกพืชในน้ำวิธีนี้ เป็นเทคนิคใหม่ที่ไม่เหมือนกับการปลูกพืชในน้ำ (HYDROPONIC) ที่กระทำกันอยู่ ทั้งสองวิธีนี้มีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก หากแต่ทว่ามีความแตกต่างในหลักการอย่างชัดเจน
การปลูกพืชในน้ำที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบราก กล่าวคือ พืชที่ปลูกในน้ำไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้หากปราศจากการช่วยเหลือของมนุษย์ในการป้อนอากาศให้กับมัน แต่ในระบบใหม่นี้ เป็นการปรับเปลี่ยนระบบรากให้กับต้นพืช นั่นก็คือการชักนำให้รากพืชที่เกิดขึ้นนั้นคงทนอยู่ในน้ำได้ และมีความสามารถในการดูดซับอากาศออกซิเจนในน้ำมาใช้ได้ โดยที่เราไม่ต้องป้อนอากาศให้แก่มัน และรากก็ไม่เน่าเปื่อยเหมือนกับวิธีดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่




ดังนั้น เทคนิคการปลูกพืชในน้ำตามแนวทางใหม่นี้จึงสามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชผักล้มลุก พืชอายุข้ามปี ไม้ยืนต้นเล็กใหญ่ ขอให้มีระบบยึดค้ำประคองลำต้นให้ยืนอยู่ได้เท่านั้น ก็สามารถนำไปปลูกในแหล่งน้ำต่างๆได้เลย โดยไม่ต้องใช้ระบบป้อนอากาศ หรือจัดหาอาหาร/ปุ๋ยให้กับมัน (ถ้าแหล่งน้ำนั้นมีธาตุอาหารเพียงพอ)

เทคนิคกรรมวิธีนั้นก็กระทำได้ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่นำเอา เทคโนโลยีการโคลนนิ่งพืชกลางแจ้งมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ด้วยการเพิ่มเติมอุปกรณ์แม่เหล็กและไฟฟ้าเข้าระบบเท่านั้นก็สามารถผลิตพืช ไฮโดรโปนิค นำไปปลูกในน้ำได้เลย


หลักการของกรรมวิธีนี้ก็คือการชักนำให้เกิดรากที่อยู่ในน้ำได้เหมือนกับพืชน้ำอย่างผักบุ้งหรือผักกระเฉด หรือข้าว เป็นต้น วิธีการนั้นก็คือ การเพาะเมล็ดพืช หรือเพาะชำชิ้นส่วนของพืช (ใบหรือกิ่ง) ในแปลงเพาะชำที่มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า รากที่เกิดขึ้นภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้านี้สามารถดำรงอยู่ในน้ำและทำการดูดซับอาหารและออกซิเจนได้ (ส่วนน้ำนั้นไม่ต้องเอ่ยถึงเลย เพราะมีมากมายเหลือเฟืออยู่แล้ว) ข้อได้เปรียบของการปลูกพืชโดยวิธีนี้ ทำให้ประหยัดแรงงาน และเวลาในการให้น้ำ เพราะสามารถแช่ต้นพืชในน้ำได้ตลอดเวลา

ที่มา: http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=389255

หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี



หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดีปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปในดิน จะมีโอกาสสูญเสียไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง สำหรับธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสนั้น พืชดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของปริมาณที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสที่เหลือทั้งหมด จะทำ

ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินสามารถตรวจสอบ
ได้ด้วยการนำตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ทางเคมี


ปฏิกิริยากับดิน กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ
ยาก พืชดึงดูดไปใช้ไม่ได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงไปในดิน เพื่อให้พืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้มากที่สุดและสูญ เสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปุ๋ย ชนิดเดียวกัน สูตรเดียวกันใส่ลงไปในดินโดยวิธี แตกต่างกัน พืชจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่เท่ากัน อาทิ ปุ๋ยที่ใส่แบบหว่านจะให้ผลแตกต่างจากปุ๋ยที่ ใส่โรยแบบเป็นแถวหรือเป็นจุดใกล้ต้นพืช ฉะนั้น การใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจึงควรมีหลักเกณฑ์ ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ 

(๑) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง 
(๒) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
(๓) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ 
(๔) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด 

(๑) ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง 

การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้น หมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้ แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง 

สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า "เกรดปุ๋ย" หมายถึง ตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2 O5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ย เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น 20-10-5 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจนว่ามี อยู่หนัก ๒๐ กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีอยู่ ๑๐ กิโลกรัม เลขตัวที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ มีอยู่ ๕ กิโลกรัม รวมเป็นธาตุอาหารทั้งหมด ๓๕ กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม และเป็นที่ ทราบกันเป็นสากลว่าเลขตัวแรก คือ ไนโตรเจน ตัวกลาง คือ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้าย คือ โพแทสเซียม จะไม่มีการสลับที่กัน จึงไม่จำเป็นต้องเขียนตัวหนังสือกำกับไว้ 

เมื่อดินขาดธาตุอาหาร N P และ K ชนิดของธาตุอาหารในปุ๋ยที่ใส่ ก็จะต้องมีธาตุ N P และ K แต่ถ้าดินขาดธาตุอาหาร N และ P ส่วน K ในดินตามธรรมชาติมีเพียงพออยู่แล้ว ธาตุอาหาร ในปุ๋ยก็ควรจะมีแต่ N และ P เท่านั้น อาทิ ดิน นาในภาคกลาง ซึ่งขาดแต่ N และ P เป็นส่วนใหญ่ ปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าวจึงมีแต่ N และ P เท่านั้น เช่น ปุ๋ยสูตร 18-46-0, 28-28-0, 20-20-0 และ 16-20-0 เป็นต้น

สำหรับ "เรโช" ของปุ๋ยนั้น เป็นสัดส่วนเปรียบเทียบกันระหว่างธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในสูตรปุ๋ย เรโชปุ๋ยจะบอกเป็นตัวเลขลงตัวน้อยๆ ระหว่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส (P2 O5 ) และโพแทสเซียม (K2 O) ของสูตรปุ๋ยนั้นๆ เช่น 

16-16-8 เท่ากับเรโช 2:2:1 ได้จากการหารตลอดด้วย 8 
20-10-5 เท่ากับเรโช 4:2:1 ได้จากการหาร ตลอดด้วย 5

นั่นคือ ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่มีเรโชเดียวกัน จะแตกต่างกัน ที่ปริมาณธาตุอาหารรวม ที่มีอยู่ในปุ๋ย เช่น สูตร 10-10-10 มีธาตุอาหารรวม N P K หนัก ๓๐ กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม ส่วนปุ๋ย 20-20-20 มีธาตุอาหารรวมหนัก ๖๐ กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าปุ๋ยสูตรแรกเท่าตัว ปุ๋ยที่มีเรโชเดียวกัน จะบอกให้ทราบว่า เป็นปุ๋ยชนิดเดียวกัน สามารถใช้แทนกันได้ ดัง นั้นถ้าใช้ปุ๋ย 10-10-10 อยู่โดยใช้อัตรา ๕๐ กก./ ไร่ สามารถเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ย 20-20-20 แทนได้ แต่เนื่องจากปุ๋ยนี้มีธาตุอาหารรวมมากกว่า ก็จะ ต้องลดอัตราที่ใช้ให้น้อยลง คือใช้เพียง ๒๕ กก./ ไร่ เท่านั้น ก็จะได้ธาตุอาหารที่เท่ากัน 

ปุ๋ยเคมีจะมีสัดส่วนระหว่าง N:P:K แตกต่างกัน แล้วแต่จะนำไปใช้กับชนิดของพืช และกับที่ดินที่มีระดับธาตุอาหาร N P และ K แตกต่างกันอย่างไร กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ก่อนใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง ก็จะต้องรู้จักดิน และรู้จักพืชที่ปลูกเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากดินแต่ละแห่ง และแต่ละชนิด จะมีระดับธาตุอาหารปุ๋ยในดินแตกต่างกัน ส่วนพืชที่ปลูกต่างชนิดกัน หรือแม้แต่อายุพืชแตกต่างกัน ก็มีความต้องการธาตุอาหาร N P K ในปริมาณ และสัดส่วน เพื่อการเจริญเติบโต และสร้างผลิตผลแตกต่างกันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน 

ระดับธาตุอาหารพืชในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีอยู่มากน้อยเท่าใดนั้น สามารถตรวจสอบได้ด้วยการส่งตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของไร่นานั้นๆ มาทำการวิเคราะห์ทางเคมี

ปุ๋ยที่มีเรโชของ N สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ P และ K มักจะใช้เป็นปุ๋ยเร่งต้น เร่งใบ เหมาะสำหรับพืชผักกินใบ หรือเร่งการเจริญเติบโตทางด้านต้น และเร่งให้พืชโตเร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ในกรณีที่ดินขาด N อย่างรุนแรง ส่วน P และ K มีอยู่ในดินระดับปานกลาง หรือค่อนข้างสูง การใช้ปุ๋ยเคมีที่เรโชของ N สูงๆ ก็จะเป็นการช่วยปรับระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร N P K ในดินให้เหมาะสมแก่พืชที่ปลูกได้ดีขึ้น หรือในกรณีของดินนาทางภาคอีสาน และภาคใต้ของประเทศไทย ระดับความเป็นประโยชน์ของ K ในดินค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับดินนาทางภาคกลาง ดังนั้น ปุ๋ยนาที่แนะนำให้ใช้ในทางภาคอีสาน และภาคใต้จึงควรมี K รวมอยู่ด้วย แต่เป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่า N และ P เช่น เรโช 2:2:1 เช่นสูตร 16-16- 8 หรือ 2:2:1 เช่นสูตร 18-12-6 แทนที่จะเป็น 16- 20-0 หรือ 20-20-0 เช่น ปุ๋ยนาในภาคกลาง ดังนี้เป็นต้น 

(๒) ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม 

ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวน หรืออัตราปุ๋ย ที่ใช้ต่อไร่ หรือต่อต้น ที่พืชจะได้รับความพอเหมาะนี้มีอยู่ ๒ ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับ เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้น ก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต และให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโต และให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด 

การพิจารณาความพอเหมาะพอดีของจำนวนปุ๋ย หรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้ จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ และวิธีการต่างๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิ ชนิดของพืช ระดับความชื้น และความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแล และการบำรุงรักษาของกสิกร ตลอดจนราคาของปุ๋ย และของพืชที่ปลูกประกอบด้วย 

(๓) ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ 

พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร มักจะแคระแกร็น และให้ผลิตผลต่ำ การใส่ปุ๋ย จะช่วยยกระดับธาตุอาหาร ที่ขาดแคลน ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน อาจจะให้ผลแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา (timing) ของการให้ ปุ๋ยแก่พืชนั้น ตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความ ต้องการธาตุอาหารนั้นๆ มากที่สุดหรือไม่ ช่วง จังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืช แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป พืชที่มีอายุสั้น เช่น พืชไร่และข้าว จะมีจังหวะการดึงดูดธาตุอาหาร ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดอย่างน้อย ๓ ช่วงด้วยกัน คือ

(๑) ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอก และการเติบโตในระยะ ๓๐-๔๕ วันแรก พืชมักจะต้องการธาตุอาหารน้อยและช้า เพราะระยะนี้ระบบรากยังน้อย และต้นยังเล็กอยู่ 

(๒) ช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารเป็นจำนวนมาก สำหรับข้าวจะเป็นระยะที่กำลังแตกกอ และระยะที่กำลังสร้างตาดอก ถ้าเป็นข้าวโพด จะเป็นระยะที่มีอายุ ๔๕ - ๖๐ วัน ถ้าเป็นข้าวก็ระยะประมาณ ๓๐ วัน ก่อนออกดอก และ 

(๓) ช่วงที่มีการเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นระยะสร้างเมล็ดหรือสร้างผล ความต้องการธาตุอาหารในระยะนี้ จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฝักหรือเมล็ดแก่ 

ระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารจากดินมากที่สุด และดึงดูดธาตุอาหารจากดินในอัตราที่รวดเร็วมากที่สุดก็คือ ช่วงที่สอง เพราะเป็นระยะที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และต้องการสะสมธาตุอาหารไว้ในต้นและใบ ให้เพียงพอสำหรับการสร้างเมล็ดและผล ที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชระยะที่สำคัญก็คือ ระยะที่สองนี้ ซึ่งพืชควรจะได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ให้เพียงพอที่สุด 

ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืช จึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการ จะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืช ได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ย เพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ 

๓.๑ การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมากๆ 

๓.๒ การใส่ครั้งแรกคือ ใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยโพแทสนั้น จะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้ 

๓.๓ การใส่ครั้งที่สอง ควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมากๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็ว และตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่ 

(๔) ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด 

นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่ เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที

ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ย จะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมาก เพราะละลายน้ำได้ง่าย ไนโตรเจนในรูปไนเทรต จะถูกน้ำพัดพาออกไปจากชั้นของดินได้อย่างรวดเร็ว ถ้ารากพืชดึงดูดเอาไว้ไม่ทัน ก็จะสูญเสียไปหมด และไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชแต่อย่างใด ปกติแล้วปุ๋ยไนโตรเจนในดินจะสูญเสียไป โดยการชะล้างประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ใส่ลงไป ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม ถึงแม้ จะดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ และถูก ชะล้างได้ยากก็จริง เมื่อดินมีการถ่ายเทอากาศดี จะถูกแปรรูปโดยจุลินทรีย์ในดินจะทำปฏิกิริยา เพิ่มออกซิเจน (oxidized) ให้กลายเป็นไนเทรต (NO3- N) ได้ง่ายและเร็วมาก 

ฟอสฟอรัสในปุ๋ย ถึงแม้จะละลายน้ำได้ง่าย แต่เมื่ออยู่ในดิน จะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับแร่ธาตุต่างๆ ในดิน กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ความเป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง และไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตตรงจุดไหน ฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ง่าย ก็มักจะอยู่ตรงจุดนั้น ถ้าจะเคลื่อนย้ายจากจุดเดิม ก็เป็นระยะใกล้ๆ ในรัศมี ๑-๕ ซม. เท่านั้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตให้กับพืช จึงต้องให้อยู่ใกล้กับรากมากที่สุด เพื่อที่รากจะไม่เป็นอันตรายจากปุ๋ยนั้น การใส่บนผิวดิน จะเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยกว่าใส่ใต้ผิวดินในบริเวณที่รากจะแพร่กระจายไปได้ถึง ซึ่งผิดกับปุ๋ยไนโตรเจน ที่ใส่บนผิวดินก็สามารถซึมลงมายังบริเวณรากที่อยู่ใต้ผิวดินได้ง่าย ดังนั้น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใต้ผิวดินจึงไม่มีข้อดีไปกว่า ใส่บนผิวดิน

ปุ๋ยโพแทสเซียมจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าฟอสเฟต แต่จะช้ากว่าไนโตรเจน โพแทสเซียมในปุ๋ย ละลายน้ำได้ง่ายพอๆ กับไนโตรเจนก็จริง แต่เนื่องจากมีประจุบวก ซึ่งดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ จึงถูกชะล้างได้ยาก แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ได้ง่ายแก่พืชอยู่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม จึงสามารถใส่บนผิวดิน หรือใต้ผิวดินก็ได้ แต่การเคลื่อนย้ายจะช้ากว่าไนโตรเจน และในเวลาเดียวกันการสูญเสียโดยการชะล้างก็ จะน้อยกว่าด้วย


ที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=18&chap=8&page=t18-8-infodetail06.html

วิธีการเตรียมดิน(ตอนการไถนา)

เมื่อเราได้กำจัดฟางข้าวในขั้นตอนที่ 1 เรียบร้อยแล้ว มาทำขั้นตอนการไถนาต่อเลย 
                                                                                                    การไถนา

2. การไถนา  คือ การใช้สัตว์หรือเครื่องยนต์ลากคันไถเพื่อพลิกหน้าดิน เสมือนเป็นการพรวนดินก่อนที่เราจะปลูกต้นไม้นั่นเอง ถ้าใช้สัตว์ในประเทศไทยจะนิยมใช้ ควาย ในการลากคันไถ ต่างประเทศมักนิยมใช้ม้าหรือวัว ถ้าเป็นการไถนา ด้วยเครื่องยนต์ก็จะมีวิวัฒนาการของเครื่องยนต์ไปตามยุคตามสมัย
การไถนายังสามารถแบ่งได้อีก 3 ขั้นตอนดังนี้


การไถดะ

2.1 การไถดะ  เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่นา การไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศรับออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำ ลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะในบางพื้นที่จะไถหลังฝนตกเมื่อดินเกิดความชุ่มชื่น บางพื้นที่ใช้การวิดน้ำเข้านาแทน การปล่อยน้ำเข้านานั้นต้องดูที่สภาพดินด้วยว่า ควรปล่อยน้ำมากน้อยเพียงไร การปล่อยน้ำเข้านา เพื่อทำให้ดินนิ่มขึ้น จะได้ไถนาได้ง่ายขึ้น หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์



การไถแปร


        2.2 การไถแปร (อาจเรียกว่า การตีนา) หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบไว้เอาขึ้นมาอีกครั้งเพื่อทำ ลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำ นวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยูกับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ

การตราด
  2.3 การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะ
แก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสมํ่าเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดู
แลการให้นํ้า (ในบางพื้นที่การไถแปร และ การคราด จะอยู่ในขั้นตอนเดียวกัน)
ที่มา: http://thairice-farm.blogspot.com/2011/03/blog-post_3174.html

10 วิธีปลูกต้นไม้ในกระถางได้สวยเป๊ะ

 ปลูกต้นไม้ในกระถางเป็นไอเดียที่ดี และเหมาะกับคนรักต้นไม้แต่ไม่มีพื้นที่เพียงพอในการปลูก อีกทั้งการปลูกต้นไม้ ทั้งไม้ดอก หรือไม้ชนิดอื่น ๆ ไว้ในกระถางยังสามารถนำมาประดับตกแต่งภายในอาคารได้ เพราะเคลื่อนย้ายง่าย และดูแลไม่ยากเท่าไร แต่ถ้าคุณกำลังนึกอยากปลูกต้นไม้ในกระถางอยู่พอดี แต่ยังไม่รู้จะปลูกอย่างไร วันนี้เรามี 10 วิธีปลูกต้นไม้ในกระถางให้สวยเป๊ะมาฝากกันด้วยค่ะ
 1. เลือกกระถางให้เหมาะสม


          ขนาดกระถางและขนาดต้นไม้เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ที่เราควรต้องคำนึงถึง เพราะหากต้นไม้มีขนาดใหญ่หรือเล็กกว่ากระถาง ก็จะดูไม่สมดุล ดังนั้นจึงควรเลือกกระถางให้เหมาะสม รวมไปถึงต้องตรงกับความต้องการของเราด้วย เช่น หากว่าต้นไม้เป็นพันธุ์ที่โตเร็ว และต้องเปลี่ยนกระถางบ่อย ๆ ก็ควรเลือกใช้กระถางใหญ่ที่มีลักษณะกลม ปากกว้าง ซึ่งเป็นกระถางที่ใช้กันทั่วไปและเป็นที่นิยม เพราะง่ายต่อการย้ายต้นไม้ลงดิน หรือถ้าหากคุณเป็นคนที่ชอบจัดสวน เคลื่อนย้ายตำแหน่งกระถางต้นไม้บ่อย ๆ ก็ควรเลือกใช้กระถางที่ทำจากโฟม หรือกระถางที่ทำมาจากไฟเบอร์กลาสเพราะมีความเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ส่วนถ้าต้องการกระถางที่มีความหนักแน่น ก็ควรเลือกใช้กระถางเซรามิก หรือกระถางที่ทำมาจากปูนค่ะ

 2. ควรใช้ดินผสม

          ดินที่ใช้ในกระถางต้นไม้ควรจะเป็นดินปนทราย ที่มีพีทมอส ปุ๋ยหมัก ขุยมะพร้าว ถ่านป่น หรืออิฐป่น ผสมอยู่ด้วย เพื่อช่วยให้พืชได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ไม่มีความเป็นกรด-ด่างในดินมากเกินไป และเพื่อให้ดินถ่ายเทอากาศ และอุ้มน้ำได้ดี นอกจากนี้ควรหมั่นพรวนดินในกระถางด้วยตะเกียบหรือไม้แหลมก็ได้ และควรใส่ปุ่ยเพื่อบำรุงให้ต้นไม้เจริญงอกงามอยู่เสมอด้วย

 3. ปลูกพืชตามความชอบ

          การจะปลูกพืชในกระถางให้สวยงาม สำคัญที่คุณต้องชอบต้นไม้หรือดอกไม้ชนิดนั้นด้วย หากว่าคุณเป็นคนที่ชอบไม้ดอก ก็เลือกปลูกมะลิ กุหลาบ หอมเจ็ดชั้น เป็นต้น แต่ถ้าชอบพืชที่มีความทนทาน และเป็นไม้มงคลก็เลือกปลูกพลูด่าง เศรษฐีเรือนใน เป็นต้น ส่วนคนที่ชอบไม้ดอกพุ่มกะทัดรัด แนะนำให้ปลูกแอฟริกันไวโอเลต พิทูเนีย หรือเฟิร์นต่าง ๆ ก็ได้ ชอบแบบไหน ก็เลือกปลูกกันได้ตามสบายเลยจ้า

4. เลือกต้นไม้ที่มีสุขภาพดี

          ต้นกล้าที่จะนำมาปลูกต้องมีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ และสุขภาพดี ไม่มีโรคพืช หรือแมลงติดมาเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้พืชโตช้า หรือตายเร็ว เผลอ ๆ อาจจะแพร่กระจายโรคพืชไปยังต้นไม้ต้นอื่นด้วย ดังนั้นก่อนเลือกพันธุ์ไม้มาปลูกในกระถาง ก็ควรต้องเลือกพืชที่มีใบเขียวสด และลำต้นแข็งแรง ดูพร้อมจะเจริญเติบโตได้อย่างดี เคลื่อนย้ายกระถางไม่ลำบากด้วย

 5. ดูแลให้ถูกต้อง

          เพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตได้อย่างดี มีความสวยงามแข็งแรง จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนกระถางบ่อย ๆ เราก็ควรดูแลต้นไม้ในกระถางให้ถูกวิธี ด้วยการเลือกใช้ดินให้เหมาะสมกับชนิดพืช อย่าลืมปนกรวดลงไปในดินเพื่อให้ช่วยยึดพืช และเพิ่มช่องว่างให้อากาศและน้ำถ่ายเทได้สะดวก ไม่ขังอยู่ในกระถางจนรากเน่า นอกจากนี้ควรรดน้ำอย่างพอดีกับต้นไม้ และหมั่นนำไปวางกลางแจ้ง เพื่อเปิดโอกาสให้พืชได้รับแสงอาทิตย์ไว้คอยสังเคราะห์แสงด้วย แต่ก็ไม่ควรตั้งกระถางต้นไม้ในที่ที่มีความร้อนหรือแดดแรงจนเกินไป ลมโกรกมาก ๆ ก็ไม่เหมาะ เพราะอาจจะทำให้ลำต้นโย้เอียงได้


 6. จัดเรียงกระถางให้เหมาะสม

          เราสามารถเลือกปลูกดอกไม้ในกระถางได้หลายชนิด แต่ก็ควรจัดวางกระถางให้เหมาะสม โดยจัดวางกระถางในตำแหน่งที่แสงสามารถส่องถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่สำคัญต้องจัดเรียงลำดับกระถางให้ดี เแนะนำให้เรียงตามลำดับความสูง กระถางที่มีต้นไม้สูง ๆ ก็ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่จะบังแสงที่จะส่องไปถึงต้นไม้เล็ก ๆ ได้ จะได้ไม้แย่งแสงกัน พาให้ต้นไม้พันธุ์ที่เตี้ยกว่า เสียโอกาสรับธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่

 7. รดน้ำอย่างถูกวิธี

          หากสังเกตเห็นว่าหน้าดินเริ่มแห้ง ก็แสดงว่าต้นไม้เริ่มขาดน้ำ แต่การจะรดน้ำต้นไม้ในกระถางให้ต้นไม้ได้น้ำอย่างเต็มที่ อันดับแรกต้องดูที่ชนิดต้นไม้ก่อน ว่าเป็นพืชที่ชอบน้ำมากน้อยแค่ไหน ถ้าชอบน้ำน้อย ให้รดน้ำด้วยวิธีใช้ขวดสเปรย์ฉีดพรมจนชุ่มก็ได้ แต่ถ้าเป็นต้นไม้ชนิดที่ชอบน้ำมาก ให้ค่อย ๆ ใช้น้ำอุ่นรดลงไปที่หน้าดิน เพราะน้ำอุ่นจะซึมลงสู่ดินได้ง่ายกว่าน้ำอุณหภูมิปกติ ระหว่างที่รดน้ำก็ค่อย ๆ ใช้ดินสอหรือตะเกียบจิ้มดินให้เป็นรู เพื่อช่วยให้น้ำซึมลงสู่รากได้อย่างทั่วถึง

8. ให้ปุ๋ยและสารอาหารสม่ำเสมอ

          ต้นไม้อาจจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ถ้าเราไม่ให้ปุ๋ยเป็นอาหารเสริมเลย ดังนั้นนอกจากการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างการรดน้ำพรวนดินแล้ว เราก็ควรต้องใส่ปุ๋ยและกำจัดแมลง รวมถึงศัตรูพืชด้วย จะเลือกใช้น้ำหมักธรรมชาติ หรือปุ๋ยตามชนิดที่พืชต้องการก็ได้ หมั่นดูแลเขาอย่างสม่ำเสมอ เขาจะได้เติบโตสวยงามให้เราชื่นชมไปนาน ๆ นะคะ

9. ตัดแต่งสักนิด

          ต้นไม้ที่มีใบแห้ง เริ่มเหลือง หรือกิ่งเริ่มไม่สวยงาม เราก็ควรตัดแต่งกิ่ง ริดใบเหลือง ๆ และคอยตรวจตราดูเพลี้ยและศัตรูพืชอยู่เสมอ เพราะการริดใบที่เริ่มเน่า ใบที่เป็นโรค และการตัดแต่งกิ่งส่วนเกิน จะช่วยรักษาระดับน้ำและสารอาหารให้พืช ไม่ต้องส่งไปยังกิ่งหรือใบเหล่านี้อีก แต่การตัดแต่งกิ่งหรือริดใบทุกครั้งควรใช้อุปกรณ์ตัดแต่งกิ่งด้วยนะคะ เพราะหากริดใบด้วยมือ อาจจะส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงราก ทำให้รากของต้นไม้เสียหายได้

10. ถึงเวลาเปลี่ยนถ่าย
          
          เมื่อพืชเริ่มหยุดการเจริญเติบโต และไม่ค่อยรับน้ำแล้ว ก็ให้ตรวจสอบดูที่รากของต้นไม้ได้เลย เพราะนี่คือสัญญาณที่บอกว่า ถึงเวลาต้องเปลี่ยนกระถางเพราะต้นไม้โตเกินกว่าที่จะอยู่ในกระถางเดิมแล้ว เอาล่ะ! ได้เวลาย้ายที่อยู่ไปยังกระถางที่ใหญ่กว่า หรือบางต้นที่มีรากเยอะมาก ก็อาจจะแยกปลูกเป็น 2-3 กระถางได้เลยจ้า


          หากใครกำลังอยากปลูกต้นไม้ในกระถางอยู่ ก็ลองนำ 10 วิธีปลูกต้นไม้ในกระถางที่เรานำมาฝากนี้ไปใช้กันดูนะคะแต่ละวิธีก็ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน และรับรองว่าจะปลูกต้นไม้ในกระถางได้เจริญเติบโตสวยงามอย่างใจเลยล่ะ

ที่มา: http://home.kapook.com/view64402.html

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรการผลิตทางเกษตร

ทฎษฎีใหม่ : แนวทางการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำการศึกษาและวิจัยเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในพื้นที่ส่วนพระองค์ขนาด ๑๖ ไร่ ๒ งาน ๒๓ ตารางวาใกล้วัดมงคล ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และทรงมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาที่ทรงจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเสริมโครงการของรัฐ ทั้งนี้ก่อนที่จะทรงนำเอกสารออกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ นั้น ทรงให้จัดตั้ง "ศูนย์บริหารพัฒนา" ตามแนวพระราชดำริ อยู่ในความรับผิดชอบของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อเป็นต้นแบบสาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรโดยประสานความร่วมมือระหว่าง วัด ราษฎรและรัฐ ทำการเผยแพร่อาชีพการเกษตรและจริยธรรมแก่ประชาชนในชนบท โดยทรงหวังว่าหากประสบความสำเร็จก็จะใช้เป็นแนวทางสาธิตในท้องที่อื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของการพัฒนาด้านการเกษตรนั้น ก็คือแนวคิดและมรรควิธีที่รู้จักกันในนาม "เกษตรทฤษฎีใหม่" (อำพล, ๒๕๔๒: ๓-๔)
พระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาคือที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินการทฤษฎีใหม่ ได้พระราชทานขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้ 
ขั้นที่ ๑ ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น สถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ ๑ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯ ได้ด้วย) พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ๑๐% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนเป็นระยะเวลาพอสมควรจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น "พออยู่พอกิน" ไปสู่ขั้น "พอมีอันจะกิน" เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไปตามลำดับ (มูลนิธิชัยพัฒนา, ๒๕๔๒)


ขั้นที่ ๒ ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
(๑) การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
(๒) การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
(๓) ความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
(๔) สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ
(๕) การศึกษา มีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
(๖) สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว


กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
ขั้นที่ ๓ ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุระกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
  • เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
  • ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
  • เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ซื้อในราคาขายส่ง)
  • ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)
ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปทำการทดลองขยายผล ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต จำนวน ๒๕ แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพภาค กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการดำเนินงานให้มีการนำเอาทฤษฎีใหม่นี้ไปใช้อย่างกว้างขวางขึ้น
ที่มา: https://web.ku.ac.th/king72/2542-09/res03_02.html




วัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันวัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

ชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน มีทั้งวัชพืชฤดูเดียว (annual weeds) และวัชพืชหลายฤดู หรือวัชพืชข้ามปี (perennial weeds) แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
  1. วัชพืชใบแคบ ได้แก่ หญ้าคา หญ้าเห็บ หญ้าดอกแดง หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้ามาเลเซีย เป็นต้น
  2. วัชพืชใบกว้าง ได้แก่ ขี้ไก่ย่าน กระทกรก ผักปราบ ผักบุ้งไร่ สาบเสือ สาบแร้ง สาบกา ผักยาง ผักโขม น้ำนมราชสีห์ เป็นต้น
  3. เฟิร์น ได้แก่ เฟิร์นก้างปลา ผักกูดแดง ย่านโซน ย่านลิเภา เป็นต้น
การควบคุมวัชพืช
          การควบคุมวัชพืชมีหลายวิธี เช่น การใช้แรงงาน การใช้เครื่องจักรตัดวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน  การปลูกพืชคลุมดินโดยใช้พืชตระกูลถั่ว  การปลูกพืชแซม  และการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีกว่าการควบคุมวัชพืชด้วยวิธีอื่น ชนิดสารกำจัดวัชพืชอัตราการใช้วิธีการใช้แสดงในตาราง โดยผสมน้ำ 60 - 80 ลิตร/ไร่ ใช้หัวพ่นปล่อยน้ำยารูปพัดพ่นให้ทั่ว
ต้นวัชพืช หลีกเลี่ยงละอองสารถูกใบ และต้นปาล์มน้ำมัน

ปลูกพืชคลุมดิน
     พืชแซมข้าวโพด
   พืชแซมสับปะรด                            พืชแซมดาวเรือง


ตาราง   การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน
ชนิดวัชพืช
สารป้องกัน
กำจัดวัชพืช 
(1/)
อัตราการใช้
(มิลลิลิตร/ไร่)
วิธีการใช้/
ข้อควรระวัง
หมายเหต
วัชพืชฤดูเดียวที่งอกจากเมล็ด
ประเภทใบกว้างและใบแคบ
พาราควอท
(27.6 %  SL)
300 - 600
วัชพืชกำลังเจริญเติบโต
หรือที่งอกใหม่ มีความสูง
ไม่เกิน 15 ซม. 
หลีกเลี่ยงละอองน้ำปลิวไปถูก ใบหรือ ลำต้นที่มี สีเขียวพ่นซ้ำหรือพ่นเป็นจุดกับวัชพืชข้ามปี หรือพุ่มไม้ 
วัชพืชฤดูเดียวและข้ามปี
ประเภท ใบแคบและใบกว้าง
กลูโฟซิเนต
แอมโมเนียม
(15 % SL)
800 - 2,000
วัชพืชกำลังเจริญเติบโต
และ ก่อน ออกดอก
ระยะปลอดฝน 4 - 6 ซม.
วัชพืชฤดูเดียว และ ข้าม ปี ประเภทใบแคบ และใบกว้าง
ไกลโฟเสท
(48 % SL)
500 - 600
วัชพืชกำลังเจริญเติบโต
และก่อน ออกดอก
ระยะปลอดฝน 4 - 6 ซม.


                                 ที่มา : http://www.doa.go.th/palm/linkTechnical/weed.html

พืชสมุนไพร ตะไคร้

นปัจจุบันคนไทยเริ่มให้ความสนใจกับพืชสมุนไพรมากขึ้นทั้งที่ใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพ และเป็นยารักษาโรค ซึ่งเราถือว่าการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์นั้น นับเป็น "ภูมิปัญญาชาวบ้าน" ที่สมควรแก่การ อนุรักษ์ อีกทั้งในปัจจุบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ สมัยใหม่ ก็หันมาให้ความสนใจ กับพืชสมุนไพรด้วย

ข้อดีประการหนึ่ง ของการนำพืชสมุนไพรมาใช้คือ
ทำให้เราเริ่มตระหนักถึง ความสำคัญ ของพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในประเทศ หลายหน่วยงาน เริ่มทำการวิจัย และรวบรวมข้อมูล ของสมุนไพรไทย ตั้งแต่ลักษณะทางกายภาพ ของพืชสมุนไพร และสรรพคุณทางยา ซึ่งมีการรวบรวม และตีพิมพ์ เป็นหนังสือ เกี่ยวกับ พืชสมุนไพรไทย ไว้มากมาย แม้ว่าสมุนไพรจะมีประโยชน์มากมายมหาศาล แต่การใช้สมุนไพรก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่นกัน เนื่องจากมีพืชสมุนไพรหลายอย่าง ที่หากมองจากภายนอกแล้ว จะมีความคล้ายคลึงกัน ค่อนข้างมาก และหากไม่พบเห็นพร้อม ๆ กันก็มักจะทำให้เกิด ความเข้าใจผิดได้ว่า เป็นพืชชนิดเดียวกันแต่ถ้าได้นำมาเปรียบเทียบ กันแล้ว จึงจะเห็นความแตกต่าง ซึ่งสรรพคุณของสมุนไพร ที่มีความคล้ายกันนี้เอง จะแตกต่างกัน และมีอันตราย หากบริโภคผิดประเภท ดังนั้น ในการนำสมุนไพร มาใช้ ควรที่จะ ทำการศึกษา เกี่ยวกับสมุนไพร ให้ละเอียด รวมทั้งควรศึกษาถึงความแตกต่าง ของพืชด้วย

  ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่น่าสนใจ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันมาก คือ "ตะไคร้" และ "ตะไคร้หอม" ซึ่งหากมองผิวเผินแล้วบางคนไม่สามารถแยกออกได้ว่า ต้นไหน คือตะไคร้ และตะไคร้หอม หรือบางคน อาจจะรู้จักแต่ตะไคร้ แต่ไม่เคยรู้จักตะไคร้หอม ก็เลยคิดว่าเป็นพืชตัวเดียวกัน
ชื่ออื่น ๆตะไคร้บ้าน ตะไคร้แกง คาหอม จะไคร เชิดเกรย เหรอะเกรย และไคร ตะไคร้แดง ตะไคร้มะขูด จะไคร มะขูด

ชื่อสามัญ
LemonGrass, Lapine
Citronella grass

ชื่อวิทยาศาสตร์
Citronella citratus
Citronella nardud

วงศ
Gramineae
Gramineae

ต้น
เป็นไม้ล้มลุกจะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้น ตั้งตรง แข็ง เกลี้ยง และตามปล้อง (กาบของโคนต้น) มักมีไขปกคลุมอยู่ ความสูงวัดจากโคนถึงกาบใบ ประมาณ 30 เซนติเมตร
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นจะตั้งตรง แต่แตกออกมา เป็นกอ สูงประมาณ 2 เมตร ที่โคน จะเป็นกาบชั้น ๆ เหมือนตะไคร้บ้าน แต่ไม่มีไขปกคลุม เหมือนตะไคร้บ้าน ความสูงวัดจากโคนต้น ถึงกาบใบประมาณ 60-75 เซนติเมตร

ใบ
ใบเดี่ยว แตกออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม ยาว 30-60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนระคายมือเล็กน้อย ส่วนด้านล่างจะเรียบ ขอบใบเรียบ มีใบยาวและกว้างกว่าตะไคร้บ้านยาวประมาณ 1 เมตร กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นเล็กน้อย เมื่อส่องดูในที่มีแสงสว่างจะเห็นว่าขอบใบไม่เรียบ และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน

สรรพคุณ
ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ และแก้อหิวาตกโรค และยังใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น
รักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
ใบ ใบสด ๆ ช่วยลดความดัน โลหิตสูง แก้ไข้
ราก ใช้เป็นยาแก้ไขปวดท้องและท้องเสีย
ต้น ใช้เป็นยาขับลม แก้เบื่ออาหาร
แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
น้ำมัน มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และมีกลิ่นไล่สนุขและแมว
ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับโลหิตระดู มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว ผู้ที่มีครรภ์รับประทานเข้าไปอาจทำให้แท้งได้
ใบ ใช้เป็นยาคุมกำเนิด ชำระล้างลำไส้ ไม่ให้เกิดซาง
ราก แก้ลมจิตรวาด หัวใจ กระวนกระวาย ฟุ้งซ่าน
ต้น แก้ลมพานไส้ แก้ธาตุ แก้เลือดลมไม่ปกติ
น้ำมัน ใช้ทาป้องกันยุง มีฤทธิ์ไล่แมลงและใช้รักษาโรคเห็บสุนัข

ที่มา: http://student.nu.ac.th/taw/page2_13.htm

การสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นวิธีการสืบพันธุ์ ของพืชที่จะเกิดต้นใหม่ได้โดยไม่ต้องใช้เมล็ด หรือการผสมเกสรแต่อย่างใด พืชดอกมีวิธีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศอยู่หลายวิธี เช่น การงอกต้นใหม่ จากส่วนต่าง ๆ เช่น กล้วย ขิง ข่า งอกเป็นลําต้นใหม่จากลําต้นที่ อยู่ใต้ดิน ที่เรียกว่าการแตกหน่อ มันสําปะหลัง อ้อย ตัดเอาส่วนของลําต้นที่มีตาและปล้องอยู่เพียงท่อนหรือสองท่อนไปปักชําต้นใหม่ก็จะงอกออกตรงบริเวณตา กระเพรา โหระพา ชบา เข็ม นําต้นหรือกิ่งไปปักชําขึ้นเป็นต้นใหม่ได้เช่น เดียวกัน ใบของพืชบางชนิด เช่น ควํ่าตายหงายเป็น กุหลาบหิน นําไปเพาะ ให้เกิดเป็นต้นใหม่ได้ เป็นต้น
การปักชำ เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการตัดเอากิ่งที่ค่อนข้างอ่อน ที่มีตาอยู่ด้วยมาปักชำ ลงในทรายหรือดิน ที่มีความชื้นพอสมควรหรือในน้ำ รอจนเกิดรากแตกออกมาจากกิ่ง ในส่วนที่ปักลงไปในดิน แล้วจึงนำกิ่งนั้น ไปปลูก

 การขยายพันธุ์โดยใช้วิธีการปักชำจะให้ดอกผลเร็วกว่าการเพาะด้วยเมล็ด แต่ใช้ได้กับพืชบางชนิด พืชที่นิยมขยายพันธุ์ โดยการปักชำ ได้แก่ พู่ระหง ชบา พลูด่าง ไผ่ และอ้อย




การตอนกิ่ง คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่การตอนกิ่ง เป็นการขยายพันธุ์ที่ทำโดยการเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ควั่นเปลือกรอบ ๆ กิ่งบริเวณใต้ข้อออกประมาณ 1/2 - 1 นิ้ว โดยลอกเปลือกระหว่างรอยควั่นออก ขุดเนื้อเยื่อที่ติดกับผิวเนื้อไม้ออก เพื่อเอาเนื้อเยื่อเจริญและท่อลำเลียงออกไป จากนั้นเอาดินร่วนที่ค่อนข้างเหนียวพอก รอบรอยควั่นจนมิด หุ้มด้วยกาบมะพร้าวชุ่มน้ำ ใช้เชือกมัดหัวท้ายให้แน่นพันทับอีกครั้งด้วยแผ่นพลาสติกรดน้ำทิ้งไว้ 2 - 3สัปดาห์ บริเวณเหนือรอยควั่นจะมีการสะสมอาหารที่สร้างไว้และจะออกเป็นรากขึ้นมาใหม่ เมื่อรากยาวพอสมควร ให้ตัดไปปลูกได้

 การขยายพันธุ์โดยใช้วิธีการโน้มกิ่งก็จะให้ดอกผลเร็วเหมือนกับวิธีการปักชำเช่นเดียวกัน





การทาบกิ่ง คือ การนำต้นพืช ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี การทาบกิ่ง เป็นการขยายพันธุ์โดยนำต้นตอมาปลูกในถุงพลาสติก เมื่อโตได้ขนาดนำไปทาบ กับกิ่งพันธุ์ดี ที่มีขนาดไล่เลี่ยกันโดยเฉือนเอาเปลือกด้านที่หันเข้าหากันออกทั้ง กิ่ง แล้วนำมาทาบติดกัน ใช้ผ้าพลาสติก พันให้แน่นทิ้งๆไว้ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์จนเนื้อเยื่อของกิ่งทั้ง 2 ประสานกันเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นตัดส่วนล่าง ของต้นพันธุ์ดีออกแล้วนำต้นพันธุ์พื้นเมืองที่มี
การติดตา คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอการติดตา เป็นการขยายพันธุ์ให้ได้พืชพันธุ์ที่ดี วิธีนี้จะใช้ต้นไม้ ต้น ต้นหนึ่งเป็นต้นตอของพันธุ์พื้นเมือง อีกต้นหนึ่งเป็นต้นตอของพันธุ์พื้นเมือง อีกต้นหนึ่งเป็นต้นพันธุ์ดี จากนั้นเฉือนตาของต้นพันธุ์ดีมาติด บนต้นตอ พันธุ์เมืองโดยใช้มีดคม ๆ กรีดต้นตอให้เป็นรูปตัวที(T) ใช้ปลายมีดเปิดเปลือกไม้เฉือนตา จาก กิ่งพันธุ์ดีนำมาเสียบเข้าไปในกรีด พันด้วยพลาสติกให้แน่นโดยเปิดส่วนของตาไว้ เมื่อตาติดกับ ต้นพันธุ์พื้นเมือง แล้วจะแล้วจะแตกกิ่งก้านออกมา จึงตัดยอดของต้นตอทิ้ง

 พืชที่นิยมติดตามักเป็นไม้เนื้ออ่อนจำพวกใบเลี้ยงคู่ เช่น กุหลาบ ชบา โกสน เล็บครุฑ

ที่มา: http://watchawan.blogspot.com/2010/05/blog-post_2367.html