วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิธีการเตรียมดิน(ตอนการไถนา)

เมื่อเราได้กำจัดฟางข้าวในขั้นตอนที่ 1 เรียบร้อยแล้ว มาทำขั้นตอนการไถนาต่อเลย 
                                                                                                    การไถนา

2. การไถนา  คือ การใช้สัตว์หรือเครื่องยนต์ลากคันไถเพื่อพลิกหน้าดิน เสมือนเป็นการพรวนดินก่อนที่เราจะปลูกต้นไม้นั่นเอง ถ้าใช้สัตว์ในประเทศไทยจะนิยมใช้ ควาย ในการลากคันไถ ต่างประเทศมักนิยมใช้ม้าหรือวัว ถ้าเป็นการไถนา ด้วยเครื่องยนต์ก็จะมีวิวัฒนาการของเครื่องยนต์ไปตามยุคตามสมัย
การไถนายังสามารถแบ่งได้อีก 3 ขั้นตอนดังนี้


การไถดะ

2.1 การไถดะ  เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่นา การไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศรับออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำ ลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะในบางพื้นที่จะไถหลังฝนตกเมื่อดินเกิดความชุ่มชื่น บางพื้นที่ใช้การวิดน้ำเข้านาแทน การปล่อยน้ำเข้านานั้นต้องดูที่สภาพดินด้วยว่า ควรปล่อยน้ำมากน้อยเพียงไร การปล่อยน้ำเข้านา เพื่อทำให้ดินนิ่มขึ้น จะได้ไถนาได้ง่ายขึ้น หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์



การไถแปร


        2.2 การไถแปร (อาจเรียกว่า การตีนา) หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบไว้เอาขึ้นมาอีกครั้งเพื่อทำ ลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำ นวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยูกับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ

การตราด
  2.3 การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะ
แก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสมํ่าเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดู
แลการให้นํ้า (ในบางพื้นที่การไถแปร และ การคราด จะอยู่ในขั้นตอนเดียวกัน)
ที่มา: http://thairice-farm.blogspot.com/2011/03/blog-post_3174.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น